มักได้ยินได้กันอยู่บ่อยครั้งเลยนะครับกับคำว่า Startup และ SMEs ทั้งในข่าวและจากรายงาน  สำหรับธุรกิจประเภท Startup ในประเทศไทยตอนนี้ กำลังมาแรง และน่าจับตามองมากเลยทีเดียว

“และหลายคนมักจะสับสนและเข้าใจว่า Startup และธุรกิจ SMEs คือธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่จริงๆแล้วอย่า พึ่งเข้าใจผิดนะครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดย่อมเหมือนกันแต่ถือว่ามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลย”

 

 

            ก่อนอื่นจะขอพามาทำความรู้จักกับธุรกิจประเภท SMEs ที่หลายคนรู้จักกันดีเสียก่อน เพราะว่าธุรกิจมากกว่า 95% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทยของเรานั้น (อ้างอิงข้อมูลจาก บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย.) เป็นธุรกิจ SMEs กันทั้งสิ้น เรียกได้ว่าครอบคลุมไปทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การบริการ หรือแม้แต่ธุรกิจประเภทการผลิต โดยคำว่า SME นั้นก็มาจากคำว่า Small and Medium Enterprises หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นั้นเอง โดยผมสามารถแยกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ก็คือ ธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีจำนวนคนงานน้อยกว่า 50 คน และมีทุนจดทะเบียน น้อยกว่า 20 ล้าน และ ธุรกิจขนาดกลาง ที่มีจำนวนคนงานประมาณ 50-200 คน และมีทุนจดทะเบียน ประมาณ 20-200 ล้านบาท

 

 

และอีกประเภทหนึ่งก็คือ ธุรกิจ Startup ที่ช่วง 2-3 ปีให้หลังมานี้ได้ยินกันบ่อยมาก และมีโมเดลจากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจประเภทนี้ให้เห็นกันอยู่หลายท่าน จึงเป็นแรงจูงใจอย่างดีสำหรับคนรุ่นใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจ

“คำว่า Startup หมายถึงการเริ่มต้น และนี่คือจุดเริ่มต้นของธุรกิจครับ แต่การเริ่มต้นแบบ Startup นั้นจะเป็นการเริ่มต้นเป็นก้าวกระโดด”

โดยธุรกิจ Startup นั้นจะเน้นไปที่การใช้ไอเดียสร้างรายได้มากกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภท SMEs

3 ข้อแตกต่างระหว่าง SMEs และ Startup เปรียบเทียบกันจุดต่อจุด

 

 

  1. ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือโมเดลในการทำธุรกิจ ที่เหล่านักธุรกิจ Startup มักจะใช้วิธีการนำไอเดียมาปรับใช้กับโมเดลธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นธุรกิจในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบสนองและแก้ปัญหา เติมเต็มความต้องการในชีวิตประจำได้อย่างเต็มที่ “และแน่นอนว่าการดำเนินธุรกิจ Startup บนอินเตอร์เน็ตจะสามารถเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ได้ จุดนี้อาจจะแตกต่างกันกับธุรกิจประเภท SMEs ซึ่งอาจจะต้องมีร้าน มีโรงงาน ในการดำเนินธุรกิจ”
  2. Startup ไม่จำเป็นต้องมีพนักงาน หรือผู้ร่วมงานมาก ส่วนมากจะดำเนินงานเพียง 2-3 คนก็เพียงพอ เพราะเป็นการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นการลดการสิ้นเปลืองบุคลากรได้อย่างดี แต่สำหรับ SMEs แล้วนั้นจำเป็นที่ต้องมีหลายฝ่ายในการดูแลไม่ว่าจะเป็นส่วนงานขาย งานออฟฟิต งานผลิต และงานบริการ
  3. เรื่องของการลงทุน จุดนี้น่าจะเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจนมากที่สุด เพราะการทำธุรกิจประเภท Startup นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนเอง แต่เป็นการนำเสนอไอเดียเพื่อเรียกนักลงทุนมาร่วมลงทุน แต่แตกต่างกับ SMEs ซึ่งส่วนมากจะต้องใช้ทุนส่วนตัวในการสร้างธุรกิจเป็นหลัก

“จากความแตกต่างของธุรกิจทั้งสองประเภทนี้แล้วนั้น หลายคนอาจจะมองว่าธุรกิจประเภท Startup นั้นมีแต่ข้อดี และน่าจะทำรายได้ได้มากกว่า SMEs  แต่สำหรับส่วนตัวผมคิดว่าธุรกิจทั้งสองประเภทก็มีความยาก และจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ความถนัดและช่องทาง โอกาสในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการมากกว่าครับ”

 

 

ในปัจจุบันไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีสินค้าแบบเดียวกันเต็มไปหมด และสินค้าทั้งหมดมองดูเผินๆก็เหมือนกันไปหมด หาข้อแตกต่างกันได้อย่างมากเลยทีเดียว “ผมคิดว่าหากอยากเหนือกว่าคู่แข่ง ก็จะต้องสร้างความโดดเด่นให้เหนือกว่าคู่แข่งตั้งแต่ครั้งแรกที่ลูกค้ามองเห็น”

ใช่แล้วครับ ! การสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าของคุณตั้งแต่แรกเห็นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่จะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง และปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ Brand Identity” หรือ “เอกลักษณ์ตราสินค้า  แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกของธุรกิจกันเลยนะครับ แต่กลับเป็นเรื่องเดิมที่ยากที่จะทำให้เกิดขึ้น และหลายคนก็ล้มเหลวไม่เป็นท่าทุกทีกับเรื่องของการสร้าง Brand ให้เกิดการจดจำ ความโดดเด่นเหนือคู่แข่งของสินค้าของคุณนั้นจะต้องเริ่มต้นมากจากการสร้าง “การรับรู้” (Perception)

 

การสร้าง “การรับรู้” ให้เกิดขึ้นกับสินค้าของคุณนั้น ไม่ได้แตกต่างไปกับการสร้างบุคลิกภาพให้ใครสักคนดูดีและเป็นที่จดจำในสายตาของคนอื่นรอบข้าง ในส่วนแรกที่ผมกำลังจะพูดถึงก็คือ การเริ่มต้นสร้าง Logo หรือตราสินค้า เพื่อให้เกิดการรับรู้ การออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) ที่มีเอกลักษณ์ “โดนใจ” กลุ่มเป้าหมายของคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับสินค้า การเลือกใช้สี หรือการสื่อสารสร้างความหมายว่าสินค้าของคุณจะต้องมีประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายอย่างแน่นอน ซึ่งในจุดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นนะครับ

ในส่วนต่อมาผมจะขอลงลึกเข้าไปอีกในส่วนของรายละเอียดโครงสร้าง “เอกลักษณ์ตราสินค้า”  (Brand Identity) ว่าจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้างถึงจะสามารถสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณได้ ซึ่งที่แน่นอนคุณจะต้องตอบคำถามทั้ง 5 ของผมให้ได้เสียก่อน

  1. ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของคุณ
  2. คุณกำลังนำเสนอสินค้าอะไรให้พวกเขา
  3. จุดยืนของสินค้าของคุณคืออะไร
  4. สินค้าของคุณจะช่วยแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร
  5. คำสัญญาที่มีให้กลุ่มเป้าหมายคืออะไร

ที่ผมเลือกถามคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ไปก็เพราะ ผมต้องการให้คุณได้เข้าใจสินค้าของคุณเองก่อนว่าจริงๆแล้วคืออะไร เพื่อใคร และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้จริงหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน “หากคุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน คุณจะสามารถนำคำตอบเหล่านี้มาเป็นแนวทางของการสร้าง Brand identity หรือ เอกลักษณ์ให้กับสินค้าของคุณได้ไม่ยาก”

หลักจากนี้คุณเองก็จะต้องนำความเข้าใจที่มีในตัวสินค้าและ Brand ของคุณมาขยายความเพื่อสื่อสารให้แก่กลุ่มเป้าหมายให้ได้อย่างชัดเจน เพื่อสร้างการรับรู้อย่างถูกต้อง 3 สิ่งที่จะช่วยให้ผู้คนจดจำแบรนด์สินค้าของคุณ คือ

  1. คำขวัญ หรือ สโลแกน

    • อยากให้ลองสังเกตและศึกษาจาก Brand ใหญ่หลายเจ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มักจะมีคำพูดติดปากไว้เสมอ ตัวอย่างใกล้ตัวอย่างของ “การบินไทย คือ การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า” หรือของ “Nike คือ Just do it” สโลแกนทั้งสองตัวอย่างสามารถสื่อสารความเป็นสินค้าและ Brand ได้อย่างดีมาก
    • อีกทั้งในส่วนของเรื่องคำขวัญนี้ยังเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ที่ดีได้ด้วยเช่นเดียวกัน ตัวอย่างของเบียร์ช้าง คือ “เบียร์ช้างเบียร์ไทยเหรียญทองระดับโลก”
  2. สีสัน

    • สีสันเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะเข้าไปสร้างการจำจำและรับรู้ได้เป็นอันดับต้นๆ การเลือกใช้โทนสีและโลโก้ที่จะสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น บริษัทรับสร้างสระว่ายน้ำมักเลือกใช้สีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เพื่อหมายถึงน้ำ หรือ โรงพยาบาลมักเลือกใช้สีเขียว เพื่อหมายถึงสุขภาพที่ดี
    • การสร้าง Product Line ให้กับ Brand การสร้างโทนสี หรือการคลุมสินค้าทั้งหมดให้เป็นโทนเดียวกัน ก็จะสามารถสื่อสารให้กับลูกค้าได้ว่าสินค้าเหล่านี้มาจากผู้ผลิตเดียวกัน ในจุดนี้ผมคิดว่าจะเป็นผลดีมากกับ Brand ที่มีสินค้าประสบความสำเร็จมาแล้ว และปล่อยสินค้าชิ้นใหม่ลงสู่ตลาด
  3. การสื่อสาร

    • หากขาดในส่วนนี้ไปทั้งหมดที่คุณกำลังพยายามสร้าง ย่อมไม่เกิดผลแน่นอนครับ การนำสิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะ โลโก้ สีสัน คำขวัญ ประโยชน์ และคำสัญญา ที่คุณมีให้กลุ่มลูกค้าของคุณ สื่อสารไปอย่างตรงจุด ตรงประเด็น สร้างความเข้าใจให้ได้ และสื่อสารไปแล้ว ต้องอย่าลืมตอกย้ำ ให้เกิดการจดจำบ่อยๆ ด้วยนะครับ
    • การสื่อสารที่ดีจะต้องมั่นใจว่า “สื่อสารไปตรงพื้นที่ที่กลุ่มลูกค้าอยู่” เพราะหากสื่อสารไปผิดพื้นที่ ทั้งหมดก็จะสูญเปล่าเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังขาย รุ่นใหม่ล่าสุด แต่กลับเลือกโฆษณาบนหนังสือพิมพ์ ก็อาจจะสูญเปล่าได้

 

“การสร้างการรับรู้ใน Brand เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะที่คือการสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าของคุณยืนอยู่เหนือคู่แข่งตั้งแต่ครั้งแรกที่กลุ่มลูกค้ามองเห็น โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องลองใช้สินค้าของคุณมาก่อน” ส่วนความสำเร็จในระยะยาว หรือการสร้าง Customer Loyalty นั้นก็จะต้องมากจากคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้าของคุณอีกด้วย